เมนู

5. ฐานสูตร


เหตุแห่งความเสื่อมและความเจริญ 4 ประการ


[115] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ 4 ประการนี้ ประการเป็นไฉน ?
คือ เหตุเพื่อ ทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหาย 1 เหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ 1 เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความฉิบหาย 1 เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเหตุ 4 ประการนั้น เหตุเพื่อทำสิ่งที่
ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายนี้ บัณฑิตย่อม
สำคัญว่าไม่ควรทำโดยส่วนทั้งสองทีเดียว คือ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ไม่-
ควรทำแม้โดยเหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ ย่อมสำคัญว่า ไม่ควรทำแม้โดยเหตุที่
เมื่อทำเข้าย่อมเป็น. ไปเพื่อความฉิบหาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้ บัณฑิต
ย่อมสำคัญว่าไม่ควรทำโดยส่วนทั้งสองทีเดียว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อ
ทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ พึงทราบคนพาลและบัณฑิตได้ ในเพราะ
กำลังของบุรุษ ในเพราะความเพียรของบุรุษ ในเพราะความบากบั่นของบุรุษ
คนพาลย่อมไม่สำเหนียกดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น
เหตุนี้เมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ดังนี้ เขาย่อมไม่กระทำเหตุนั้น
เหตุนั้นอันเขาไม่การทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อม
สำเหนียกดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น เหตุนี้เมื่อทำ
เข้าย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ดังนี้ เขาย่อมกระทำเหตุนั้น เหตุนั้นอันเขา
กระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในเหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อ
ทำเข้าย่อมเป็นไป เพื่อความฉิบหาย พึงทราบคนพาลและบัณฑิต ในเพราะ
กำลังของบุรุษ ในเพราะความเพียรของบุรุษ ในเพราะความบากบั่นของบุรุษ
คน พาลย่อมไม่สำเหนียกดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น
เหตุนี้เมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ดังนี้ เขาย่อมกระทำเหตุนั้น
เหตุนั้นอันเขากระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อมสำเหนียก
ดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น เหตุนี้เมื่อทำเข้า ย่อม
เป็นไปเพื่อความฉิบหาย ดังนี้ เขาย่อมไม่กระทำเหตุนั้น เหตุนั้นอันเขา
ไม่กระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยส่วนทั้ง 2 ทีเดียว
คือ ย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยเหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และโดยเหตุที่เมื่อทำเข้า
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เหตุนี้ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยส่วนทั้ง 2
ทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ 4 ประการนี้แล.
จบฐานสูตรที่ 5

อรรถกถาฐานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฐานานิ ได้แก่ เหตุ. บทว่า อนตฺถาย สํวตฺตติ ความว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อมิใช่ความเจริญ. ก็ในคำนี้ พึงทราบ
กุศลกรรมที่สัมปยุตด้วยโสมนัส ในบทเป็นต้นอย่างนี้ว่า บาปกรรมมีทุกข์